ว่าด้วยเรื่องของ ตะแกรงไวร์เมช (Wire Mesh) คนมักจะเรียกตะแกรงที่มีลวดเชื่อมกันเป็นช่องสี่เหลี่ยมทุกรูปแบบว่าตะแกรงไวร์เมช ซึ่งอาจทำให้เกิดความสับสนกันได้ ในงานก่อสร้าง การเลือกวัสดุที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญ วันนี้เราจะมาเลือกตะแกรงไวร์เมชใช้ให้ถูกต้องกัน สองตัวเลือกยอดนิยม (ที่คนมักสับสน) คือ ตะแกรงไวร์เมชเทพื้น และ ตะแกรงอาร์ค
ตะแกรงไวร์เมชเทพื้น VS ตะแกรงอาร์ค
ไวร์เมชเทพื้น (Wire Mesh) กับ ตะแกรงอาร์ค (Welded Wire Mesh) ช่างแต่ละคนอาจเรียกไม่เหมือนกัน แต่คนสั่งซื้อสินค้าจะต้องเข้าใจก่อนว่ามันแตกต่างกันนะ ต้องเข้าใจให้ถูกต้องก่อน ไม่งั้นสั่งผิดต้องแย่ๆแน่ๆ
ลักษณะ | ตะแกรงไวร์เมชเทพื้น | ตะแกรงอาร์ค |
วัสดุ | ลวดเหล็กกล้ารีดเย็น | ลวดเหล็กเส้นกลม |
รูปแบบ | ตาใหญ่ ม้วนใหญ่ ลวดเส้นหนา | แผ่น ตะแกรงถี่ |
การใช้งาน | พิ้นคอนกรีตเสริมเหล็ก | งานก่อสร้างทั่วไป |
ข้อดี | แข็งแรง ทนทาน ติดตั้งง่าย | ดัดแปลงได้หลายหลาย ทนทานต่อสนิม |
การใช้งาน
ตะแกรงไวร์เมชเทพื้นใช้วัสดุ ลวดเหล็กกล้ารีดเย็น (Cold Drawn Steel Wire) เหมาะสำหรับงานพื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก ช่วยเพิ่มความแข็งแรง ทนทาน รองรับน้ำหนักได้ดี
ตัวอย่างการใช้งาน:
– ปูพื้นอาคารสำนักงาน
– ปูพื้นห้างสรรพสินค้า
– ปูพื้นโรงงานอุตสาหกรรม
– ปูพื้นลานจอดรถ
– ปูพื้นถนน
ตะแกรงอาร์คใช้วัสดุ ลวดชุบกัลวาไนซ์ (Galvanized Steel Bar) เหมาะสำหรับงานก่อสร้างทั่วไป
ตัวอย่างการใช้งาน:
– รั้วบ้าน
– รั้วโรงงาน
– กรงสัตว์
– คอกสัตว์
– ชั้นวางของ
– ฯลฯ
นอกจากนี้ยังมี ตะแกรงสาน (Crimped Wire Mesh) กับ ตาข่ายถัก (Chain-Link Fencing) ที่หลายๆคนอาจจะเรียกว่า ตะแกรงไวร์เมช ได้อีกด้วยนะ ดังนั้น ! ก่อนสั่งซื้อสินค้าอย่าลืมทำความเข้าใจชื่อเรียกสำหรับแต่ละคนให้ดี และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้ต้องการนำไปใช้ในงานรูปแบบไหนด้วย
สอบถามรายละเอียดสินค้า ตะแกรงอาร์ค เพิ่มเติมได้ที่
บริษัท กรุงเทพ ไวร์เวิร์ค จำกัด
Line: @bkkww
โทร: 02-219-4777, 02-219-4888
Email: admin@bkkwirework.com
www.bkkwirework.com