ว่าด้วยเรื่องของ ตะแกรงไวร์เมช (Wire Mesh) คนมักจะเรียกตะแกรงที่มีลวดเชื่อมกันเป็นช่องสี่เหลี่ยมทุกรูปแบบว่าตะแกรงไวร์เมช ซึ่งอาจทำให้เกิดความสับสนกันได้ ในงานก่อสร้าง การเลือกวัสดุที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญ วันนี้เราจะมาเลือกตะแกรงไวร์เมชใช้ให้ถูกต้องกัน สองตัวเลือกยอดนิยม (ที่คนมักสับสน) คือ ตะแกรงไวร์เมชเทพื้น และ ตะแกรงอาร์ค

ตะแกรงไวร์เมช

ตะแกรงไวร์เมชเทพื้น VS ตะแกรงอาร์ค

ไวร์เมชเทพื้น (Wire Mesh) กับ ตะแกรงอาร์ค (Welded Wire Mesh) ช่างแต่ละคนอาจเรียกไม่เหมือนกัน แต่คนสั่งซื้อสินค้าจะต้องเข้าใจก่อนว่ามันแตกต่างกันนะ ต้องเข้าใจให้ถูกต้องก่อน ไม่งั้นสั่งผิดต้องแย่ๆแน่ๆ

ลักษณะตะแกรงไวร์เมชเทพื้นตะแกรงอาร์ค
วัสดุลวดเหล็กกล้ารีดเย็นลวดเหล็กเส้นกลม
รูปแบบตาใหญ่ ม้วนใหญ่ ลวดเส้นหนาแผ่น ตะแกรงถี่
การใช้งานพิ้นคอนกรีตเสริมเหล็กงานก่อสร้างทั่วไป
ข้อดีแข็งแรง ทนทาน ติดตั้งง่ายดัดแปลงได้หลายหลาย ทนทานต่อสนิม
ตะแกรงไวร์เมชเทพื้น กับ ตะแกรงอาร์ค

การใช้งาน

ตะแกรงไวร์เมชเทพื้นใช้วัสดุ ลวดเหล็กกล้ารีดเย็น (Cold Drawn Steel Wire) เหมาะสำหรับงานพื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก ช่วยเพิ่มความแข็งแรง ทนทาน รองรับน้ำหนักได้ดี

ตะแกรงไวร์เมช
ตัวอย่างการใช้งาน ตะแกรงไวร์เมชเทพื้น


ตัวอย่างการใช้งาน:
– ปูพื้นอาคารสำนักงาน
– ปูพื้นห้างสรรพสินค้า
– ปูพื้นโรงงานอุตสาหกรรม
– ปูพื้นลานจอดรถ
– ปูพื้นถนน

ตะแกรงอาร์คใช้วัสดุ ลวดชุบกัลวาไนซ์ (Galvanized Steel Bar) เหมาะสำหรับงานก่อสร้างทั่วไป

ตะแกรงไวร์เมช
ตัวอย่างการใช้งาน ตะแกรงอาร์ค


ตัวอย่างการใช้งาน:
– รั้วบ้าน
– รั้วโรงงาน
– กรงสัตว์
– คอกสัตว์
– ชั้นวางของ
– ฯลฯ

นอกจากนี้ยังมี ตะแกรงสาน (Crimped Wire Mesh) กับ ตาข่ายถัก (Chain-Link Fencing) ที่หลายๆคนอาจจะเรียกว่า ตะแกรงไวร์เมช ได้อีกด้วยนะ ดังนั้น ! ก่อนสั่งซื้อสินค้าอย่าลืมทำความเข้าใจชื่อเรียกสำหรับแต่ละคนให้ดี และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้ต้องการนำไปใช้ในงานรูปแบบไหนด้วย

สอบถามรายละเอียดสินค้า ตะแกรงอาร์ค เพิ่มเติมได้ที่

บริษัท กรุงเทพ ไวร์เวิร์ค จำกัด
Line: @bkkww
โทร: 02-219-4777, 02-219-4888
Email: admin@bkkwirework.com
www.bkkwirework.com