กรงสัตว์ ประตู หรือชั้นวางของที่ทำด้วย“ตะแกรงเหล็ก”ติดกับเหล็กกล่องนั้น ดูสวยงามและให้ความรู้สึกว่าแข็งแรงกว่าการใช้ตะแกรงเหล็กอย่างเดียว แต่คุณรู้หรือไม่ว่า วิธีเชื่อมตะแกรงเหล็กเข้ากับเหล็กกล่องนั้นเค้าทำกันยังไง? การเชื่อมตะแกรงกับเหล็กกล่องเป็น
กระบวนการที่ต้องการเทคนิคและความละเอียดสูงในการทำงาน วันนี้เราจึงขอเสนอวิธีเชื่อมตะแกรงเหล็กกับเหล็กกล่องอย่างละเอียด รวมถึงการเตรียมวัสดุ การเลือกเครื่องมือ และขั้นตอนการเชื่อมเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดกันครับ
1.การเตรียมวัสดุ
1.1 ตะแกรงเหล็ก(Wire Mesh): ตะแกรงที่ผลิตจากเส้นลวดคุณภาพ ไม่ว่าจะเป็น ตะแกรงอาร์ค,ตะแกรงสาน,ตาข่ายถัก,ตาข่ายสำเร็จรูป
1.3 ลวดเชื่อม(Welding Rod): หนึ่งในอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการเชื่อม ควรเป็นลวดเชื่อมประเภทลวดเชื่อมไฟฟ้าหุ้มฟลักซ์หรือที่เรารู้จักกันในลวดเชื่อมธูป
1.2 เหล็กกล่อง(Rectangular or Square Hollow Section): หรือที่เรียกอีกอย่างว่า เหล็กแป๊บ เป็นเหล็กรูปพรรณที่ผลิตด้วยกรรมวิธีรีดร้อน ทำให้เพิ่มคุณสมบัติในการใช้งานของเหล็กให้แข็งแรงมากขึ้น ควรเลือกขนาดให้ตรงกับความต้องการของชิ้นงาน
2.เตรียมอุปกรณ์ที่ต้องใช้
2.1 เครื่องเชื่อม (Welding Machine): เช่น
2.1.1 เครื่องเชื่อมไฟฟ้า (Arc Welding Machine)
หลักการทำงาน: ใช้กระแสไฟฟ้าสูงผ่านลวดเชื่อมที่มีการเคลือบสารฟลักซ์ (Flux) เมื่อปลายลวดเชื่อมสัมผัสกับชิ้นงาน จะเกิดการอาร์ค (Arc) ทำให้ลวดละลายและสร้างแนวเชื่อม
2.1.2 เครื่องเชื่อม MIG (MIG Welding Machine)
หลักการทำงาน: ใช้ลวดเชื่อมที่ถูกป้อนออกมาต่อเนื่องผ่านปืนเชื่อม (Welding Gun) โดยมีก๊าซปกคลุม (Shielding Gas) เช่น อาร์กอน (Argon) หรือคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ป้องกันการเกิดออกซิเดชันของแนวเชื่อม
2.1.3 เครื่องเชื่อม TIG (TIG Welding Machine)
หลักการทำงาน: ใช้ลวดทังสเตน (Tungsten) ที่ไม่ละลายเป็นตัวสร้างอาร์ค และมีก๊าซปกคลุมเช่น อาร์กอน (Argon) ป้องกันการเกิดออกซิเดชัน สามารถเติมลวดเชื่อม (Filler Rod) เข้าไปในแนวเชื่อมได้ตามต้องการ
2.2 เครื่องเจียร (Angle Grinder): สำหรับเตรียมพื้นผิวและตัดแต่งเหล็ก
2.3 ตลับเมตร (Measuring Tape): สำหรับวัดขนาดและตำแหน่งการเชื่อม
2.4 แว่นตาและหน้ากากป้องกัน (Safety Glasses and Welding Helmet): ป้องกันดวงตาและหน้า
2.5 ถุงมือกันความร้อน (Heat-resistant Gloves): ป้องกันมือจากความร้อน
2.6 ที่ยึดงาน (Clamps): สำหรับยึดชิ้นงานให้มั่นคงในระหว่างการเชื่อม
2.7 แปรงลวด (Wire Brush): สำหรับทำความสะอาดพื้นที่ที่จะเชื่อม
2.8 สีและแลคเกอร์ (Anti-rust Paint and Lacquer) สำหรับป้องกันการขึ้นสนิมหลังจากเชื่อมชิ้นงานเสร็จแล้ว
3.การเชื่อม (Welding)
3.1 ติดตั้งชิ้นงาน (Positioning): เริ่มจากวางเหล็กกล่องและตะแกรงเหล็กในตำแหน่งที่ต้องการ จากนั้นใช้ตัวยึดมายึดเอาไว้ให้มั่นคงเพื่อป้องกันการเคลื่อนที่ของชิ้นงาน
3.2 เตรียมตัวเชื่อม (Preparation): สวมใส่หน้ากากเชื่อม และถุงมือกันความร้อนให้เรียบร้อย
3.3 เริ่มเชื่อม (Initiating the Weld): เริ่มเชื่อมที่จุดเริ่มต้น (Tack Weld) เพื่อยึดชิ้นงานให้มั่นคง จากนั้นเชื่อมจุดสำคัญที่ต้องการความแข็งแรงสูงก่อน เช่น มุมของชิ้นงาน หลังจากนั้นเชื่อมต่อเนื่องตามแนวเชื่อมที่วางแผนไว้เคลื่อนหัวเชื่อม (Welding Torch) อย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ได้แนวเชื่อมที่เรียบและสวยงามระวังอย่าให้หัวเชื่อมร้อนเกินไป หยุดพักเป็นระยะเพื่อป้องกันการโอเวอร์ฮีต (Overheat)
4.การตรวจสอบและตกแต่งชิ้นงาน (Inspection and Finishing)
ตรวจสอบแนวเชื่อมให้เรียบและไม่มีรอยแตกร้าว หลังจากนั้นใช้เครื่องเจียร แต่งขอบและแนวเชื่อมให้เรียบและสวยงามและทำความสะอาดแนวเชื่อมด้วยแปรงลวดเพื่อขจัดสนิมและสิ่งสกปรก
5.การป้องกันและบำรุงรักษา (Protection and Maintenance)
5.1 การพ่นสีหรือเคลือบแลคเกอร์ (Painting or Coating):
ทาสีแล้วตามด้วยแลคเกอร์เคลือบป้องกันสนิมที่แนวเชื่อมและพื้นผิวเหล็ก
หากปฏิบัติตามขั้นตอนที่ละเอียดและรอบคอบเหล่านี้ จะช่วยให้การเชื่อมตะแกรงเหล็กและเหล็กกล่องเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและดูสวยงามมากยิ่งขึ้น
หากสนใจตะแกรงเหล็ก บริษัท กรุงเทพ ไวร์เวิร์ค จำกัด ยินดีให้บริการ เรามีความเชี่ยวชาญในเรื่องลวดและรั้วตาข่ายมายาวนานกว่า40ปี ไม่ว่าจะเป็น ตะแกรงอาร์ค ตะแกรงสาน ตาข่ายถัก หรือตาข่ายสำเร็จรูป ก็สามารถทักเข้ามาติดต่อสอบถามได้ครับ/ค่ะ
ติดต่อสอบถาม
Line Official : @Bkkww (https://lin.ee/gINI4hk)
Facebook : Facebook
เบอร์ติดต่อ : 02-219-4777,090-992-3131(คุณเค้ก)
บริษัท กรุงเทพ ไวร์เวิร์ค จำกัด